วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การใช้ is, am, are

         is, am, are แปลว่า เป็น อยู่ คือ เราใช้กริยานี้เพื่อแสดงสภาพสภาวะในปัจจุบัน เมื่อเราพูดถึงสภาพสภาวะที่กำลังเป็นอยู่ การใช้ is, am, are ต้องสังเกตประธาน ควรดูประธานว่าเป็นรูปสรรพนาม หรือคำนาม ถ้าประธานเป็นคำสรรพนาม จะมีการใช้ดังนี้
        I    ใช้กับ am
        He ใช้กับ is
        She ใช้กับ is
        It ใช้กับ is
ประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3 ใช้กับ is
        You ใช้กับ are
        We ใช้กับ are
        They ใช้กับ are
ประธานพหูพจน์บุรุษที่ 3 ใช้กับ is
ประธาน
Subject
กริยา to be หรือ
Verb to be
ส่วนเติมเต็ม
Complement
  I
am
a  student
You/ We/ They
The students
The books
are
in  the  room.
He/ She/ It
The student
The book
is
on  the  table.

หลักการใช้ Tense ทั้ง 12

Tense
Tense   คือรูปแบบ(หรือโครงสร้าง)ของกริยา  ที่แสดงให้เราทราบว่า  การกระทำหรือเหตุการ นั้นๆเกิดขึ้นเมื่อใด   ซึ่งเรื่อง  tense  นี้เป็นเรื่องสำคัญ  ถ้าเราใช้    tense  ไม่ถูก  เราก็จะสื่อภาษากับเขา ไม่ได้  เพราะในประโยคภาษาอังกฤษนั้นจะอยู่ในรูปของ  tense  เสมอ  ซึ่งต่างกับภาษาไทยที่เราจะมีข้อความบอกว่าาเกิดขึ้นเมื่อใดมาช่วยเสมอ   แต่ภาษาอังกฤษจะใช้รูป  tense  นี้มาเป็นตัวบอก  ดังนี้การศึกษาเรื่อง  tense  จึงเป็นเรื่องจำ เป็น.
Tense  ในภาษาอังกฤษนี้จะแบ่ง ออกเป็น  3  tense  ใหญ่ๆคือ
               1.     Present   tense        ปัจจุบัน
               2.     Past   tense              อดีตกาล
               3.     Future   tense          อนาคตกาล
ในแต่ละ  tense ยังแยกย่อยได้  tense  ละ  4  คือ
              1 .   Simple   tense    ธรรมดา(ง่ายๆตรงๆไม่ซับซ้อน).
              2.    Continuous  tense    กำลังกระทำอยู่(กำลังเกิดอยู่)
              3.     Perfect  tense     สมบูรณ์(ทำเรียบร้อยแล้ว).
              4.     Perfect  continuous  tense  สมบูรณ์กำลังกระทำ(ทำเรียบร้อยแล้วและกำลัง ดำเนินอยู่ด้วย).


โครงสร้างของ  Tense  ทั้ง  12  มีดังนี้
Present  Tense
                      [1.1]   S  +  Verb  1  +  ……(บอกความจริงที่เกิดขึ้นง่ายๆ ตรงๆไม่ซับซ้อน).
[Present]       [1.2]   S  +  is, am, are  +  Verb  1  ing   +  …(บอกว่าเดี๋ยวนี้กำลังเกิดอะไร อยู่).
                      [1.3]   S  +  has, have  +  Verb  3 +  ….(บอกว่าได้ทำมาแล้วจนถึง ปัจจุบัน).
                      [1.4]   S  +  has, have  +  been  +  Verb 1 ing  + …(บอกว่าได้ทำมาแล้วและกำลังทำ ต่อไปอีก).
Past Tense
                      [2.1]  S  +  Verb 2  +  …..(บอกเรื่องที่เคยเกิดมาแล้วใน อดีต).
[Past]            [2.2]  S  +  was, were  +  Verb 1  +…(บอกเรื่องที่กำลังทำอยู่ในอดีต).
                      [2.3]  S  +  had  +  verb 3  +  …(บอกเรื่อที่ทำมาแล้วในอดีตใน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).
                      [2.4]  S  +  had  +  been  +  verb 1 ing  + …(บอกเรื่องที่ทำมาแล้วอย่างต่อ เนื่องไม่หยุด).
Future Tense
                      [3.1]  S  +  will, shall  +  verb 1  +….(บอก เรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต).
[Feature]        [3.2]  S  +  will, shall  +  be  +  Verb 1 ing  + ….(บอกว่าอนาคตนั้นๆกำลังทำอะไร อยู่).
                      [3.3]  S  +  will,s hall  +  have  +  Verb 3  +…(บอกเรื่องที่จะเกิดหรือสำเร็จ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).
                      [3.4]  S  +  will,shall  +  have  +  been  + verb 1 ing  +.. ..(บอกเรื่องที่จะทำอย่างต่อเนื่องในเวลาใด -  เวลาหนึ่งในอนาคตและ จะทำต่อไปเรื่อยข้างหน้า).  
                
หลักการใช้แต่ละ  tense  มีดังนี้
              [1.1]   Present  simple  tense    เช่น    He  walks.   เขาเดิน,
1.    ใช้กับ เหตุการที่เกิดขึ้นตามความจริงของธรรมชาติ และคำสุภาษิตคำ พังเพย.    
2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในขณะที่พูด  (ก่อนหรือหลังจะไม่จริงก็ตาม).
3.    ใช้กับกริยาที่ทำนานไม่ได้   เช่น  รัก,  เข้าใจ, รู้  เป็นต้น.
4.    ใช้กับการกระทำที่คิดว่าจะเกหิดขึ้นในอนาคตอันใกล้(จะมีคำวิเศษณ์บอกอนาคตร่วมด้วย).
5.    ใช้ในการเล่าสรุปเรื่องต่างๆในอดีต  เช่นนิยาย นิทาน.
6.    ใช้ในประโยคเงื่อนไขในอนาคต    ที่ต้นประโยคจะขึ้นต้น ด้วยคำว่า    If    (ถ้า),       unless   (เว้นเสียแต่ว่า),    as  soon  as  (เมื่อ,ขณะที่),    till  (จนกระทั่ง) ,   whenever   (เมื่อไรก็ ตาม),    while  (ขณะที่)   เป็นต้น.
7.    ใช้กับเรื่องที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ  และมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่สม่ำเสมอร่วมอยู่ด้วย  เช่น  always (เสมอๆ),  often   (บ่อยๆ),    every  day   (ทุกๆวัน)    เป็นต้น.
8.    ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น  [1.1]  ประโยคตามต้องใช้   [1.1]  ด้วยเสมอ.


[1.2]   Present  continuous  tense   เช่น   He  is  walking.  เขากำลังเดิน.
1.    ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด(ใช้  now ร่วมด้วยก็ได้ โดยใส่ไว้ต้น ประโยค, หลังกริยา หรือสุดประโยคก็ ได้).
2.    ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในระยะเวลาอันยาวนาน  เช่น  ในวันนี้ ,ในปีนี้ .
3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ผู้พูดมั่นใจว่าจะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้  เช่น เร็วๆนี้, พรุ่งนี้.
*หมายเหตุ   กริยาที่ทำนานไม่ได้  เช่น  รัก ,เข้าใจ, รู้, ชอบ  จะนำมาแต่งใน  Tense  นี้ไม่ได้.

            [1.3] Present perfect tense เช่น He has walk เขาได้เดินแล้ว.
1.    ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน  และจะมีคำว่า Since  (ตั้งแต่) และ for  (เป็นเวลา) มาใช้ร่วมด้วยเสมอ.
2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยทำมาแล้วในอดีต (จะกี่ครั้งก็ได้ หรือจะทำอีกใน ปัจจุบัน หรือจะทำในอนาคต ก็ได้)และจะมีคำ ว่า  ever  (เคย) ,  never  (ไม่เคย) มาใช้ร่วมด้วย.
3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่จบลงแล้วแต่ผู้พูดยังประทับใจอยู่ (ถ้าไม่ประทับใจก็ใช้   Tense
4.    ใช้กับ เหตุการที่เพิ่งจบไปแล้วไม่นาน(ไม่ได้ประทับใจอยู่) ซึ่งจะมีคำเหล่านี้มาใช้ร่วมด้วยเสมอ คือ  Just   (เพิ่งจะ), already  (เรียบร้อยแล้ว), yet  (ยัง), finally  (ในที่สุด)  เป็นต้น.



   [1.4] Present  perfect  continuous  tense    เช่น  He  has  been  walking .  เขาได้กำลังเดินแล้ว.
*  มีหลักการใช้เหมือน  [1.3]  ทุกประการ เพียงแต่ว่าเน้นว่าจะทำต่อไปในอนาคตด้วย    ซึ่ง [1.3] นั้นไม่เน้นว่าได้กระทำอย่างต่อเนื่องหรือไม่  ส่วน [1.4]  นี้เน้นว่ากระทำมาอย่างต่อเนื่องและจะกระทำต่อไปในอนาคตอีกด้วย.

             [2.1] Past  simple  tense      เช่น  He  walked.  เขาเดิน แล้ว.
1.   ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงแล้วในอดีต   มิได้ต่อเนื่องมาถึงขณะ ที่พูด และมักมีคำต่อไปนี้มาร่วมด้วยเสมอในประโยค เช่น  Yesterday, year  เป็นต้น.
2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ทำเป็นประจำในอดีตที่ผ่านมาในครั้งนั้นๆ ซึ่งต้องมีคำวิเศษณ์บอกความถี่ (เช่น Always, every  day ) กับคำวิเศษณ์ บอกเวลา (เช่น  yesterday,  last  month )  2  อย่างมาร่วมอยู่ด้วยเสมอ.
3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต  แต่ปัจจุบันไม่ได้เกิด อยู่ หรือไม่ได้เป็นดั่งในอดีตนั้นแล้ว  ซึ่งจะมีคำว่า  ago  นี้ร่วมอยู่ด้วย.
4.      ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น [2.1]  ประโยคคล้อยตามก็ต้อง เป็น [2.1]  ด้วย.

        [2.2]   Past continuous  tense   เช่น    He  was  walking .  เขากำลังเดินแล้ว
1.     ใช้กับเหตุการณ์   2   อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน  { 2.2  นี้ไม่นิยมใช้ตามลำพัง - ถ้าเกิดก่อนใช้  2.2   -  ถ้าเกิดทีหลังใช้ 2.1}.
2.     ใช้กับเหตุการณ์ที่ ไดกระทำติดต่อกันตลอดเวลาที่ได้ระบุไว้ในประโยค  ซึ่งจะมีคำบอกเวลาร่วมอยู่ด้วยในประโยค  เช่น  all  day  yesterday  etc.
3.     ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่กำลังทำในเวลาเดียวกัน(ใช้เฉพาะกริยาที่ทำได้นานเท่านั้น  หากเป็นกริยาที่ทำนานไม่ได้ก็ใช้หลักข้อ 1 ) ถ้าแต่งด้วย 2.1  กับ  2.2  จะดูจืดชืดเช่น   He  was  cleaning  the  house  while  I was  cooking  breakfast.

         [2.3]   Past  perfect  tense    เช่น  He  had walk.  เขาได้เดินแล้ว.
1.    ใช้กับ เหตุการณ์  2  อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต  มีหลักการใช้ดังนี้.
เกิดก่อนใช้  2.3  เกิดทีหลังใช้  2.1.
2.     ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำอันเดียวก็ได้ในอดีต แต่ต้องระบุชั่วโมงและวันให้แน่ชัดไว้ในทุกประโยคด้วยทุกครั้ง  เช่น   She  had  breakfast  at  eight o’ clock  yesterday.

        [2.4]   past  perfect  continuous  tense    เช่น   He  had  been  walking.
           มีหลักการใช้เหมือนกับ  2.3  ทุกกรณี  เพียงแต่  tense  นี้  ต้องการย้ำถึงความต่อเนื่องของการกระทำที่ 1  ว่าได้กระทำต่อเนื่องไปจนถึงการกระทำที่  2  โดยมิได้หยุด  เช่น  When  we  arrive  at  the  meeting ,  the  lecturer  had  been  speaking  for  an  hour  .   เมื่อพวกเราไปถึงที่ ประชุม  ผู้บรรยายได้พูดมาแล้ว เป็นเวลา 1  ชั่วโมง.



  [3.1]   Future  simple  tense      เช่น   He  will  walk.    เขาจะเดิน.
              ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งจะมีคำว่า  tomorrow,  to  night,  next  week,  next  month   เป็นต้น  มาร่วมอยู่ด้วย.
           * Shall   ใช้กับ     I    we.
             Will    ใช้กับบุรุษที่  2  และนามทั่วๆไป.
             Will,  shall  จะใช้สลับกันในกรณีที่จะให้คำมั่นสัญญา, ข่มขู่บังคับ, ตกลงใจแน่วแน่.
             Will,  shall   ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือจงใจก็ได้.
             Be  going  to  (จะ)  ใช้กับความจงใจของมนุษย์ เท่านั้น  ห้ามใช้กับเหตุการณ์ของธรรมชาติและนิยมใช้ใน ประโยคเงื่อนไข.

       [3.2]    Future   continuous    tense    เช่น   He  will  be  walking.    เขากำลังจะ เดิน.
1.     ใช้ในการบอกกล่าวว่าในอนาคตนั้นกำลังทำอะไรอยู่ (ต้องกำหนดเวลาแน่นอน ด้วยเสมอ).
2.     ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต  มีกลักการใช้ดังนี้.
               -   เกิดก่อนใช้    3.2      S  +  will  be,  shall  be  +  Verb 1  ing.
                -  เกิดทีหลังใช้   1.1     S  +  Verb  1 .


        [3.3]   Future   prefect  tens    เช่น  He  will  walked.  เขาจะได้เดินแล้ว.
1.  ใช้กับเหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นหรือสำเร็จลงในเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต  โดยจะมีคำว่า  by  นำหน้ากลุ่มคำที่บอกเวลา ด้วย  เช่น   by  tomorrow  ,   by  next  week   เป็น ต้น.
2.  ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต มีหลักดังนี้.
              -      เกิดก่อนใช้   3.3      S  +  will, shall  +  have  +  Verb 3.
-         เกิด ที่หลังใช้   1.1    S  +  Verb 1 .

        [3.4]  Future  prefect  continuous  tense เช่น He  will  have  been  walking. เขาจะได้กำลัง เดินแล้ว.
          ใช้เหมือน  3.3  ต่างกันเพียงแต่ว่า  3.4  นี้เน้นถึงการกระทำที่  1  ได้ทำต่อเนื่องมาจนถึงการกระทำที่  2  และจะกระทำต่อไปในอนาคต อีกด้วย.
           *   Tense  นี้ไม่ค่อยนิยมใช้บ่อย นัก  โดยเฉพาะกริยาที่ทำนาน ไม่ได้ อย่านำมาแต่งใน  Tense  นี้เด็ดขาด.
จบเรื่อง  Tense

คำชี้แจง จงเติม is, am, are ลงในช่องว่างให้ถูกต้อง (เฉลยอยู่ด้านล่าง)
1.They......yellow bananas.
2.We........happy pupils.
3.Sri and I......teachers.
4.Jim and Jack........boys.
5.She......your mother.
6.He......my father.
7.They.......old toys.
8. It.......a bad skirt.
9.He and she......farmers.
10.She and I .......girls.
11.Suda.....a small girl.
12. Jim...... a thin boy.
13. I ........ a good teacher.
14. We.......happy pupils.
15.They ......red pens.
16.These......white cats.
17.Those......new books.
18.It........a tall tree.
19.She.....a good student.
20.He...... a fat bay.
21. That.........a shirt.
22. This..........a bicycle.
23. These.........birds.
24. Those.........dogs.
25. I.........a doctor.
26. You........a nurse.
27. We.........Farmers.
28. They.......apples.
29. I .......a boy.
30. You........a teacher.
......................................
Surprised 
เฉลย  
1.are
2.are
3.are
4.are
5.is
6.is
7.are
8.is
9.are
10.are
11.is
12.is
13.am
14.are
15.are
16.are
17.are
18.is
19.is
20.is
21.is
22.is
23.are
24.are
25.am
26.are
27.are
28.are
29.am
30.are

Punctuation Marks (เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษ)

 

Punctuation Marks (เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษ)

Punctuation Marks หรือ เครื่องหมายวรรคตอน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการเขียนภาษาอังกฤษ เนื่องจากในทุกประโยคภาษาอังกฤษนั้นประกอบด้วย Punctuation Marks ทั้งสิ้น ซึ่งเราสามารถจำแนก Punctuation Marks ได้ดังนี้
 
1. Period / Full stop ( . ) หรือ เครื่องหมายมหัพภาค-ใช้เมื่อจบประโยคในประโยคบอกเล่าหรือประโยคคำสั่ง
-ใช้หลังอักษรย่อต่างๆหรือคำย่อ เช่น Dr.(Doctor), Mr.(Mister) และอื่นๆ

2. Comma ( , ) หรือ เครื่องหมายจุลภาค/เครื่องหมายลูกน้ำ)
- ใช้คั่นเพื่อแยกคำนามซ้อน เช่น Thailand, a country in Asia, is famous for its beautiful temples.
- ใช้แยกระหว่างคำที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น I want a car, a motorcycle, and a bicycle.
- ใช้แยกคำคุณศัพท์ที่บอกสี เช่น a blue, yellow bicycle
- ใช้แยกคำคุณศัพท์ที่ตามหลังคำนาม เช่น My girlfriend is slim, tall, and beautiful.
- คั่นข้างหน้าหรือข้างหลังชื่อ เช่น
Christina, where have you been?
What would you like to eat, Lita?
- คั่นประโยคที่ตามหลัง Yes, No และ Well ที่ขึ้นต้นประโยค เช่น
Are you Thai? Yes, I am.
Well, I'm not sure if I can do that.
- ใช้เพื่อแยกข้อความในประโยคคำพูด เช่น He said, "They are happy."
- คั่นระหว่างปีที่ตามหลังเดือน, ถนนกับเมือง, เมืองกับประเทศ เช่น
Today is May 4th, 2008.Tang lives at 76 Satorn Road, Bangkok.

3. Semi-colon ( ; ) หรือ เครื่องหมายอัฒภาค
- ใช้คั่นประโยคที่มีเครื่องหมาย comma คั่นอยู่แล้ว เช่น Hello, Nittaya; Please come here.
- ใช้ทำหน้าเพื่อเชื่อมประโยคสองประโยคที่มีเนื้อหาเกี่ยวพันกันวางไว้หน้าadverbs ได้แก่
therefore (ดังนั้น) besides (นอกจากนี้) เป็นต้น เช่น
Canada is very cold; therefore people must wear heavy coats in the winter.

4. Colon ( : ) หรือ เครื่องหมายมหัพภาคคู่/เครื่องหมายทวิภาค
- ใช้ colon ก่อนการประโยคอธิบาย เช่น He decided to buy a car: he had to travel to the remote area.
- ใช้แจ้งรายการ ซึ่งนิยมใช้หลังคำเหล่านี้ the following หรือ as follows เป็นต้น เช่น We require the following for our camping trip: tent, bags, and boots.

5. Exclamation Mark ( ! ) หรือ เครื่องหมายอัศเจรีย์
ใช้หลังคำอุทานหรือประโยคอุทาน เช่นOh! you are so beautiful. Watch out! Go away! 
 
6. Apostrophe ( ' ) หรือ เครื่องหมายวรรคตอน
- ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของคำนามทั้งนามเอกพจน์และนามพหูพจน์ เช่น The doctor's car, The men's club, Somkiet's dog
- ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของคำนามพหูพจน์ที่เติม s หรือชื่อเฉพาะที่มี s เช่น The girls' books, Charles' school
- ใช้สำหรับย่อคำ เช่น can't (can not), it's (it is), I'd rather (I would rather) 
7. Question Mark ( ? ) หรือ เครื่องหมายปรัศนี
ใช้กับประโยคคำถาม เช่น Is that food hot?
 
8. Quotation Marks ( " " ) หรือ เครื่องหมายอัญประกาศ
ใช้เขียนคร่อมข้อความที่เป็นประโยคคำพูด เช่น
He said, "I am going home." "I can help you move," Narong volunteered.
 
9. Hyphen ( - ) หรือ เครื่องหมายยติภังค์
ใช้เพื่อเชื่อมคำสองคำให้เป็นคำเดียวกัน เช่น ex-husband, anti-American two-day holiday 
 
10. Dash ( -- ) หรือ เครื่องหมายเส้นประ
ใช้เพื่อเน้นข้อความที่แทรกเข้ามาเพื่ออธิบายหรือใช้คั่นคำละไว้ในฐานที่เข้าใจหรือเปลี่ยนใหม่ เช่น
I got lost, forgot my bag, and missed my plane-- it was a terrible trip.
If I had a lot of money, I would --Oh, what am I thinking? I will never be rich.

11. Oblique / Slash ( / ) หรือ เส้นแบ่ง
ใช้แทรกระหว่างประโยคเพื่อแทนคำว่า หรือ เช่น
Please insert your card/cash into the machine.

Noun Clauses (อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม)

บทความนี้เขียนเมื่อ
เขียนเมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2553
หากพบเนื้อหาในบทความนี้ไม่ถูกต้อง หรือ ต้องการแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับบทความ กรุณาแจ้งที่นี่

Noun Clauses (อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม)

 

Noun Clauses (อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม)

Noun Clauses คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นคำนามในประโยค ในการสนทนาในชีวิตประจำวัน เราอาจได้ยินหรือใช้ noun clauses โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังใช้ noun clauses อยู่ เช่น

I think you’re very pretty.
I hope you pass the exam.
ประโยคเต็มที่เป็นทางการ คือ
I think that you’re very pretty.
I hope that you pass the exam.
Noun clauses เหล่านี้ เมื่ออยู่ในตำแหน่งของประธานจะเรียกว่า "Subject noun clauses" และเมื่ออยู่ในตำแหน่งของกรรม จะเรียกว่า "Object noun clauses" ดังตัวอย่าง
 
Subject Noun Clauses
That scores are going down is clear.
(มักใช้ในภาษาเขียนหรือภาษาทางการ)
ที่ว่าคะแนนลดลงเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน
 
What he said confused us terribly.
สิ่งที่เขาพูดทำให้พวกเราสับสนมาก
 
Object Noun Clauses
I feel that you overestimated the damages.
ผมรู้สึกว่าคุณประมาณการความเสียหายเกินความเป็นจริง
I don’t know where she is.
ผมไม่รู้ว่าเธออยู่ที่ไหน
 

ประเภทของ Object Noun Clauses

Object Noun Clauses จะต้องอยู่คู่กับ Main Clause ของประโยคเสมอ โดยประโยคจะเริ่มด้วย Main Clause แล้วตามด้วย Object Noun clause โดยไม่ต้องมีเครื่องหมาย Comma คั่น Object noun clauses มี 3 ประเภท ได้แก่
1. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "that"
2. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย "Wh-Words" (หรือ Question Words)
3. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "if" หรือ "whether"
 
1. การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "That"

เราใช้ Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า that ในกรณีต่อไปนี้

1. ใช้ตามหลัง verbs บางตัวที่แสดงความรู้สึก ความคิด หรือ ความคิดเห็น เช่น agree, feel, know, remember, believe, forget, realize, think, doubt, hope, recognize, understand

เช่น I agree that we should follow him.
She knows that her mom loves her.

2. ถ้าเป็นภาษาพูด มักจะละคำว่า that ซึ่งเป็นคำขึ้นต้น clause
 
เช่น I think that it’s red, not blue. (ภาษาทางการ)
I think it’s red, not blue. (ภาษาพูด)
 
3. Verbs ใน main clauses มักจะเป็น present tense แต่ verbs ใน noun clauses จะเป็น tense อะไรก็ได้
 
เช่น I believe it’s raining. (now)
I believe it’ll rain. (very soon)
I believe it rained. (a moment ago)

4. ในการสนทนา ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการพูดคำว่า that บ่อยเกินไป หรือไม่ต้องการพูด noun clause ซ้ำ สามารถตอบโดยใช้คำว่า so หรือ not หลัง main clauses ได้
 
เช่น Surat: Is Surawee here today?
Dendao: I think so.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I think that Surawee is here today.)
 
Dares: Has the rain stopped?
Sompet: I don’t believe so.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I don’t believe that the rain has stopped.)
 
Joom: Are we ready to leave?
Paa: I’m afraid not.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I’m afraid that we are not ready to leave.)
 
2. การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words

การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words (ได้แก่คำว่า what where when why how) มีหลักเกณฑ์ดังนี้
 
1. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Indirect wh-questions และแม้ว่า noun clauses เหล่านี้จะขึ้นต้นด้วยคำแสดงคำถาม แต่ลำดับคำ (word order) ในอนุประโยคนี้ จะเป็นลำดับคำของประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ลำดับคำของประโยคคำถาม
เช่น I know why he comes home very late.
(ไม่ใช่ why does he come home very late)
I don’t know when he will arrive.
(ไม่ใช่ when will he arrive)
2. การใช้เครื่องหมายวรรคตอนของประโยคจะเป็นไปตามลักษณะของ main clause กล่าวคือ ถ้า main clause เป็นคำถามจะใช้เครื่องหมาย question mark ปิดประโยค ถ้า main clause เป็นบอกเล่า จะใช้เครื่องหมาย full stop ปิดประโยค
เช่น Could you tell me where the elevators are?
(Main clause เป็นคำถาม)
I’m wondering where the elevators are.
(Main clause เป็นบอกเล่า)

3. ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อแสดงให้คู่สนทนาทราบว่า เราไม่รู้ หรือเราไม่แน่ใจ
เช่น I don’t know how much it costs.
I would like to know when our next meeting will be.
I’m not sure which house is his.
4. ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อถามหาข้อมูลอย่างสุภาพ
เช่น Could you tell me who are injured in the accident?
Can you tell me what time the show starts?
3. การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย If หรือ Whether
การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether คือ indirect yes/no questions นั่นเอง
 
เช่น Direct Question: Did they pass the exam?
Indirect Question: I don’t know if they passed the exam.
(ข้อความที่ขีดเส้นใต้คือ noun clause ที่ขึ้นต้นด้ว if นั่นเอง)

2. ลำดับคำในประโยค (word order) และเครื่องหมายจบประโยค ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words
 
3. จะขึ้นต้น Noun Clauses ด้วยคำว่า if หรือ whether ก็ได้ แต่มักใช้ whether ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างเป็นทางการ
 
เช่น Sir, I would like to know whether you prefer coffee or tea.
Tell me if you want to go with us or not.
4. ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อ main clause แสดงการใช้ความคิด หรือความคิดคำนึง
เช่น I can’t remember if I had already paid him.
wonder whether he will arrive in time.
 
5. ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อต้องการถามคำถามอย่างสุภาพ
เช่น Do you know if the principal is in his office.
Can you tell me whether the tickets include drinks?
 
ขอบคุณเนื้อหาดีๆจาก รศ.ดร.อำไพ เกียรติชัย

Gerund: กริยานาม

บทความนี้เขียนโดย
พี่จิว
หัวหน้าชมรมเด็กอิงก์
เขียนเมื่อ วันที่ 18 กันยายน 2553
หากพบเนื้อหาในบทความนี้ไม่ถูกต้อง หรือ ต้องการแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับบทความ กรุณาแจ้งที่นี่

Gerund

Gerund หรือ กริยานาม คือ Verb (กริยา) ที่นำมาทำให้เป็นคำนามโดยการเติม –ing เข้าไปยังกริยานั้นๆ โดยเราสามารถนำ Gerund มาวางไว้ได้ทั้ง หน้า กลาง และ หลังประโยค
 
Verb + - ing = Noun
 

Gerund

1. ตัวอย่าง Verb ที่ตามด้วย Gerund
 
admit (ยอมรับ)
anticipate (มุ่งหวัง)
appreciate (ซาบซึ้ง)
avoid (หลีกเลี่ยง)
compare (เปรียบเทียบ)
complete (ทำเสร็จ)
confess (สารภาพ)
consider (พิจารณา)
delay (ทำให้ช้า)
deny (ปฏิเสธ)
detest (รังเกียจ)
discuss (สนทนา)
dislike (ไม่ชอบ)
enjoy (สนุกสนาน)
escape (หลบหนี)
excuse (แก้ต่าง)
fancy (นึกฝัน, จินตนาการ)
finish (เสร็จ, สำเร็จ)
forgive (ให้อภัย, ยกโทษ)
imagine (จินตนาการ)
involve (เกี่ยวข้อง)
mention (กล่าวถึง)
mind (รังเกียจ)
miss (พลาด)
practice (ฝึกฝน)
postpone (เลื่อน, ผลัด)
recognize (จำได้)
recollect (ย้อนระลึก)
report (รายงาน)
resent (ขุ่นเคือง)
resist (ต้านทาน)
risk (เสี่ยง)
suggest (แนะนำ)
stand (อดทน)
stop (หยุด)
tolerate (อดทน)
หมายเหตุ Verb เหล่านี้ สามารถนำไปใช้กับ Noun (คำนาม) ได้เช่นกัน
ตัวอย่าง They admitted cheating on their test. (พวกเขายอมรับว่าโกงข้อสอบ)
Do you mind picking up the phone? (คุณช่วยรับโทรศัพท์ให้หน่อยได้ไหม)
completed filling out the form. (ฉันกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว)
 
2. ตัวอย่าง Adjective (คุณศัพท์) ที่ตามด้วย Gerund
afraid of (กลัว)
fond of (ชอบที่จะ)
angry about / at (โกรธ)
interested in (สนใจใน)
bad at (ไม่ถนัด ,ไม่ดี)
proud of (ภูมิใจกับ)
busy (ยุ่ง)
sick of (เบื่อที่จะ)
clever at (ฉลาด,เก่ง)
sorry about (เสียใจกับ)
crazy about (บ้าคลั่ง)
tired of (เหนื่อยใจกับ)
disappointed about (ผิดหวังเกี่ยวกับ)
worried about (กังวลเกี่ยวกับ)
excited about (ตื่นเต้นเกี่ยวกับ)
worth (มีคุณค่า,สมควรแก่)
famous for (มีชื่อเสียงใน)

หมายเหตุ Adjective เหล่านี้ สามารถนำไปใช้กับ Noun (คำนาม) ได้เช่นกัน

ตัวอย่าง I’m afraid of diving. (ฉันกลัวการดำน้ำ)
He is busy doing his job. (เขากำลังยุ่งอยู่กับงานของเขา)
I’m crazy about reading comic books (ฉันบ้าคลั่งกับการอ่านหนังสือการ์ตูน)
 
3. ตัวอย่าง Preposition (บุพบท) ที่ตามด้วย Gerund
about (เกี่ยวกับ)
by (โดย)
after (หลังจาก)
in (ใน)
apart from (นอกเหนือจาก)
instead of (แทนที่จะ)
at (ที่)
on (บน)
because of (เนื่องจาก)
without (ปราศจาก)
before (ก่อนหน้า)

หมายเหตุ Preposition เหล่านี้ สามารถนำไปใช้กับ Noun (คำนาม) หรือ Verb ในรูปแบบอื่นๆได้เช่นกัน
ตัวอย่าง After fishing, we had a dinner together. (หลังจากตกปลาเสร็จ เราก็ได้ทานอาหารเย็นด้วยกัน)
I went to the shopping mall without telling mom. (ฉันไปเดินห้างโดยไม่บอกให้แม่รู้)
 
4. ตัวอย่างคำและประโยคอื่นๆ ที่ตามด้วย Gerund
accuse of
forget about (ลืมเกี่ยวกับ)
agree with
give up (ล้มเลิก)
apologize for
have a …. (good/bad/hard/difficult/etc.) time
approve of (เห็นด้วยกับ)
have problem/trouble/difficulty (มีปัญหา,มีความลำบาก)
believe in
insist on (ยืนกราน)
blame for
It’s no use / It’s no good (ไม่มีประโยชน์)
can’t bear / can’t stand (ทนไม่ได้)
Keep / keep on (ทำต่อไป, คงไว้)
can’t help / can’t resist (อดไม่ได้)
put off (เลื่อน)
carry on / go on (ทำต่อไป)
prevent from (ป้องกัน)
complain about (บ่น)
rely on (วางใจ)
concentrate on (จดจ่อ)
succeed in (ประสบความสำเร็จใน)
congratulate on (ยินดีกับ)
specialize in (เชี่ยวชาญใน)
cope with (รับมือกับ)
stop from (หยุด)
decide against (ตัดสินใจ)
talk about/of (พูดคุยเกี่ยวกับ)
depend on (ขึ้นอยู่กับ)
think of (คิดถึง)
dream about/of (ฝันถึง)
warn against (เตือน)
feel like (รู้สึกอยากจะ)
worry about (กังวลเกี่ยวกับ)
หมายเหตุ คำหรือประโยคเหล่านี้ เหล่านี้ สามารถนำไปใช้กับ Noun (คำนาม) ได้เช่นกัน
 
5. เรามักใช้ Gerund ตามหลังคำหรือประโยคเหล่านี้ แม้ว่าหลังคำหรือประโยคเหล่านี้จะมี “to” ก็ตาม
 
accustomed to (ชิน,คุ้นเคยกับ)
object to (คัดค้านต่อ)
confess to (สารภาพ)
used to (ชิน,คุ้นเคยกับ)
look forward to (ตั้งหน้าตั้งตารอคอย)
opposed to (คัดค้านต่อ)
ตัวอย่าง I look forward to seeing you soon. (ฉันตั้งหน้าตั้งตาคอยวันที่จะได้พบคุณในเร็ววัน)
 
Tips: โดยส่วนใหญ่แล้ว เราจะใช้ Gerund เมื่อเราต้องการพูดถึงการกระทำต่างๆ (actions)โดยอาศัยหลักการนำ Verb มาเปลี่ยนให้เป็น Noun นั่นเอง